.

.

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563

การประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2564

 

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้จัดการประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2564 ณ ห้องประชุม EDU 206 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด



วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563

รับรางวัลนักวิจัยดีเด่น

 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2563 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด แสดงความยินดีกับนักวิจัยที่ได้รับการคัดเลือกรางวัลนักวิจัยดีเด่น โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ลลิตา พิมพ์ทา ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่น และผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธเดช หมอกมีชัย ได้รับรางวัลนักวิจัยจากชุมชนดีเด่น ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 6 ราชภัฏ ราชภักดิ์ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา



วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

เป็นวิทยากร ในการจัดโครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ศรี สืบสิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภิมล บุญพอก อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นวิทยากร ในการจัดโครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ของโรงเรียนปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสระเกษ โดยอบรมให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1- 3 จำนวน 88 คนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีให้กับผู้มีทักษะแห่งอนาคต มีพร้อมทั้งทัศนคติ ความรู้ ส่งเสริมให้มีศักยภาพในการสร้างนวัตกรรม ช่วยพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป



วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

การประชุมชี้แจงระบบแผนแนวทางการจัดทำคำขอและการขอรับการจัดสรรงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมปีงบประมาณพ.ศ 2565

 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เข้าร่วมการประชุมชี้แจงระบบแผนแนวทางการจัดทำคำขอและการขอรับการจัดสรรงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมปีงบประมาณพ.ศ 2565  ที่จัดขึ้นเพื่อเสนอแผนด้าน ววน. พ.ศ. 2563-2565 ฉบับปรับปรุงสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แนวทางและระบบของการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ตลอดจนหลักเกณฑ์การจัดทำคำของบประมาณและหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณ และแนวทางการจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานในระบบ ววน. เพื่อให้หน่วยงานในระบบ ววน. ยื่นคำของบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมสอดคล้องกับแผนด้าน ววน. ที่ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ประเทศ ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม  อิมแพค เมืองทองธานี 



วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

เข้าร่วมประชุมและรับฟังแนวทางการบริหารโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)

 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โดยอาจารย์ ดร.การุณ พงศ์ศาสตร์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ เข้าร่วมประชุมและรับฟังแนวทางการบริหารโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ตามที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ ประชาชนว่างงานและบัณฑิตจบใหม่ไม่สามารถหางานทำได้ รวมถึงนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ประชาชนที่ว่างงานย้ายกลับถิ่นฐานจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมานโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จึงมุ่งเน้นที่การฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับชุมชน ทั้งการสร้างงาน การพัฒนาอาชีพในชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อให้เกิดการบูรณาการโครงการในพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามความต้องการของพื้นที่อย่างแท้จริง ควรมีหน่วยงานในพื้นที่ที่ทำหน้าที่ในการบูรณาการกระบวนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่อย่างเป็นระบบ(Area Based System Integrator) ซึ่งมหาวิทยาลัยของรัฐกว่า 80 แห่งที่กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆของประเทศ สามารถที่จะทำหน้าที่เป็น System Integrator ในระดับตำบลได้ โดยที่มหาวิทยาลัยในพื้นที่สามารถใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีอยู่ ทำงานประสานและร่วมงานกับจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้การทำงานบูรณาการนี้ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลที่สามารถนำไปสู่การลดความยากจนอย่างมีเป้าหมายชัดเจน (Targeted Poverty Alleviation)




ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ประจำปีการศึกษา 2562

 เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563 สถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ประจำปีการศึกษา 2562 ดูแลรับผิดชอบ 2 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 2 วิจัย ได้คะแนนเฉลี่ย 4.15 และ องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ ได้คะแนนเฉลี่ย 5.00

 


การฝึกอบรมหลักสูตร “การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่สอดคล้องกับการวิจัยและนวัตกรรมในมิติใหม่” รุ่นที่ 1 ครั้งที่ 2/2563 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 สถาบันวิจัยและพัฒนา ส่งนักวิจัยเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมหลักสูตร การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่สอดคล้องกับการวิจัยและนวัตกรรมในมิติใหม่รุ่นที่ 1 ครั้งที่ 2/2563 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้วิธีการ เทคนิคในเชิงลึกในการพัฒนาแนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยและนวัตกรรมให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และเกิดผลสัมฤทธิ์ รวมทั้งแนวทางในการจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่  เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยและนวัตกรรมอย่างไรให้สอดคล้องกับการวิจัย และนวัตกรรมในมิติใหม่  แนวทางการขอตำแหน่งทางวิชาการ และแบ่งกลุ่มนำเสนอและวิพากษ์ข้อเสนอโครงการวิจัย เมื่อวันที่ 21 – 22 สิงหาคม 2563 ณ โรงแรมอวานี ขอนแก่นโฮเทล แอนด์ คอนเวชัล เช็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น



บริการวิชาการและติดตามการพัฒนาการออกแบบการเรียนรู้ แบบ project based learning

 วันที่ 14 กันยายน 2563 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้บริการวิชาการและติดตามการพัฒนาการออกแบบการเรียนรู้ แบบ project based learning ตลอดจนถ่ายทอดนวัตกรรมจิตศึกษา ให้แก่คณะครูโรงเรียนบ้านหนองเมืองกลาง และโรงเรียนในกลุ่มเครือข่าย โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียน นายบุญไทย ศรีกา และประธานกลุ่มเครือข่าย นายชำนาญ สุรินาม พร้อมคณะครูร่วมต้อนรับและเรียนรู้ตลอดกระบวนการ



สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดร่วมเป็นเจ้าภาพร่วม การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 3 ในหัวข้อ “วิจัยและนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์สู่ชุมชนเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน”

 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2563  สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดร่วมเป็นเจ้าภาพร่วม การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 3 ในหัวข้อ วิจัยและนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์สู่ชุมชนเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน” The 3rd National Research Conference – CPRU 2020 : Research and Innovation  for Sustainable and Livable Communities  ณ ห้องสัมมนา ชั้น 9 อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

 


วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2563

การประชุม การทบทวนแผนกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 - พ.ศ.2565 (ฉบับทบทวน) และประจำปีงบประมาณ 2564

    สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด นำทีม อาจารย์ ดร.การุณ พงศ์ศาสตร์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา นางยุพเรศน์ ปะทีบ ณ ถลาง เจ้าหน้าที่ประจำสถาบันวิจัย เข้าร่วมการประชุม การทบทวนแผนกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 - พ.ศ.2565 (ฉบับทบทวน) และประจำปีงบประมาณ 2564  โดยศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์สมพร โพธินาม นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุม และมี ผศ.ดร.เฉลย ภูมิพันธุ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ร่วมการประชุมอย่างพร้อมเพรียง ณ ห้องประชุม A ชั้น 9 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 6  ตุลาคมพ.ศ 2563 เวลาประมาณ 09:09 น


 

ประเมินประกันคุณภาพสถาบันวิจัยและพัฒนา ประจำปีการศึกษา 2562

 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้รับการประเมินประกันคุณภาพสถาบันวิจัยและพัฒนา ประจำปีการศึกษา 2562 ผลการประเมินระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยคะแนน 4.71  เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 
ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา ตึกนิติรัฐศาสตร์ ชั้น 2



มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563 (Thailand Research Expo 2020)

 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้ร่วมจัดบูทในงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563 (Thailand Research Expo 2020) ผลงานในรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ นิวนอร์มัลภายใต้แนวคิด วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนเวทีระดับชาติที่นำเสนอ ผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ เป็นการสร้างสรรค์ สร้างแรงขับเคลื่อนให้เกิดกลไกสนับสนุนและพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ มีนักวิจัยส่งผลงานวิจัยเข้าร่วม จำนวน 3 เรื่อง ประกอบด้วย  1) การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งระบบปั้มความร้อน โดย อาจารย์นนทนันท์  พลพันธ์และคณะ 2) ซีรั่มบำรุงผิวจากผลึกไหม โดย ผศ.ดร.กนกกรณ์ ศิริทิพย์  3) การศึกษาเทคนิคภาพพิมพ์ชิ้นเดียวด้วยกระบวนการพิมพ์ผิวแบนเรียบจากการสร้างแท่นพิมพ์เพคตินเพลทด้วยพืชที่ให้เส้นใยในท้องถิ่นโดย อาจารย์ชญตว์ อินทร์ชา วันที่ 2 - 6 สิงหาคม 2563 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ





วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2563

กิจกรรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปองค์ความรู้ด้านการบริการวิชาการ

 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้จัดโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ชุมชน ประชาชน บุคลากรทางการศึกษา ในพื้นที่อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กิจกรรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปองค์ความรู้ด้านการบริการวิชาการ ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2563 ณ อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โครงการนี้มีผู้เข้าร่วมเสวนา โดยแยกเป็น 7 กลุ่ม ดังนี้ 1. การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 และส่งเสริมความรอบรู้ด้านการป้องกันโรคระบาด โควิด-19 โดยคณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 2. การสร้างการรับรู้ภาวะสุขภาพด้านการป้องกันโรคไวรัสโคโรน่า2019และโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชนตำบลเกาะแก้ว  โดยคณะพยาบาลศาสตร์3. การสร้างศูนย์เรียนรู้ด้วยนวัตกรรมการใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อสร้างงาน สร้าง อาชีพแก่ชุมชน ณ ชุมชนบุญนิยมร้อยเอ็ดอโศก อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยคณะนิติรัฐศาสตร์4. การเสริมสร้างพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตอำเภอเสลภูมิ โดยคณะครุศาสตร์ 5. อิ่มสุข สุขภาพดี มีรายได้ ด้วยสมุนไพรพื้นบ้านไทย โดยคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี 6. การอบรมการสื่อสารและการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ โดยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ 7.การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างยั่งยืน โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา




การนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีด้านการบริการวิชาการและการจัดการความรู้

 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้จัดโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ชุมชน ประชาชน บุคลากรทางการศึกษา ในพื้นที่อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กิจกรรม การนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีด้านการบริการวิชาการและการจัดการความรู้ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2563 ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2563 ณ อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โครงการนี้มีผู้เข้าร่วมนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดี โดยแยกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้ 1) ด้านการผลิตบัณฑิต 2) ด้านการวิจัย 3) ด้านการบริการวิชาการ 4) ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 
5) ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน



วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2563

รุ่นที่ 1 กลุ่มประชาชนและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ชุมชนบ้านหนองแวง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2563 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้จัดโครงการเครือข่ายการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน กิจกรรมที่ 2 การยกระดับบุคลากรผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่น และสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด กิจกรรม 2.1 การอบรมเชิงปฏิบัติการการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของชุมชนท้องถิ่นและสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด “ด้านการบริหารจัดการขยะ” รุ่นที่ 1 กลุ่มประชาชนและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ชุมชนบ้านหนองแวง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด


รุ่นที่ 1 กลุ่มประชาชนและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ชุมชนบ้านประชาชื่น อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2563 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้จัดโครงการเครือข่ายการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน กิจกรรมที่ 2 การยกระดับบุคลากรผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่น และสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด กิจกรรม 2.1 การอบรมเชิงปฏิบัติการการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของชุมชนท้องถิ่นและสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด “ด้านการบริหารจัดการขยะ” รุ่นที่ 1 กลุ่มประชาชนและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ชุมชนบ้านประชาชื่น อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด


รุ่นที่ 1 กลุ่มประชาชนและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ชุมชนบ้านค้อใหญ่ อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2563 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้จัดโครงการเครือข่ายการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน กิจกรรมที่ 2 การยกระดับบุคลากรผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่น และสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด กิจกรรม 2.1 การอบรมเชิงปฏิบัติการการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของชุมชนท้องถิ่นและสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด “ด้านการบริหารจัดการขยะ” รุ่นที่ 1 กลุ่มประชาชนและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ชุมชนบ้านค้อใหญ่ อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด


วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2563

รุ่นที่ 1 กลุ่มประชาชนและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2563 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้จัดโครงการเครือข่ายการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน กิจกรรมที่ 2 การยกระดับบุคลากรผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่น และสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด กิจกรรม 2.1 การอบรมเชิงปฏิบัติการการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของชุมชนท้องถิ่นและสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด “ด้านการบริหารจัดการขยะ” รุ่นที่ 1 กลุ่มประชาชนและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี ดร.วัฒนพงษ์ ชิตทรงสวัสดิ์ รองนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เป็นประธานเปิดโครงการ ณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ถ.เทวาภิบาล ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด


วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563

รุ่นที่ 1 กลุ่มประชาชนและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ณ วังยาว หมู่ 18 ตำบลวังสามัคคี อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้จัดโครงการเครือข่ายการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน กิจกรรมที่ 2 การยกระดับบุคลากรผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่น และสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด กิจกรรม 2.1 การอบรมเชิงปฏิบัติการการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของชุมชนท้องถิ่นและสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด “ด้านการบริหารจัดการขยะ” รุ่นที่ 1 กลุ่มประชาชนและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ณ วังยาว หมู่ 18 ตำบลวังสามัคคี อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด


รุ่นที่ 1 กลุ่มประชาชนและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ณ บ้านขมิ้น หมู่ 8 ตำบลสระนกแก้ว อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2563 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้จัดโครงการเครือข่ายการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน กิจกรรมที่ 2 การยกระดับบุคลากรผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่น และสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด กิจกรรม 2.1 การอบรมเชิงปฏิบัติการการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของชุมชนท้องถิ่นและสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด “ด้านการบริหารจัดการขยะ” รุ่นที่ 1 กลุ่มประชาชนและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ณ บ้านขมิ้น หมู่ 8 ตำบลสระนกแก้ว อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด


วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2563

โครงการการพัฒนางานวิจัยและผลงานตีพิมพ์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2563 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้จัดโครงการการพัฒนางานวิจัยและผลงานตีพิมพ์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น ณ ห้องประชุม A ชั้น 9 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานักวิจัยให้สามารถทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น และสามารถขอทุนจากแหล่งทุนได้มากขึ้น เพื่อพัฒนาบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดให้มีผลงานตีพิมพ์ในระดับชาติและนานาชาติสูงขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน และการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น รวมทั้งพัฒนาศักยภาพในการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัยมากขึ้น โดยมี ผู้บริหาร อาจารย์ นักวิจัย บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 20 คน และเข้าร่วมแบบออนไลน์ โดยผ่านระบบประชุมทางไกล (Zoom meeting) จำนวน 60 คน เข้ารับการอบรม และได้รับเกียรติอย่างสูงยิ่งจาก ศาสตราจารย์ ดร.อลงกลด แทนออมทอง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยข่อนแก่น และรองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเฉลิม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้


การยกระดับผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2563 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรพงษ์ แสงเรณู ได้เข้าร่วมประชุมการยกระดับผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบกลไกการทำงานร่วมกันในระดับภาคีเครือข่ายกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉลียงเหนือตอนบน ณ ห้องประชุม 206 ตึก 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม


วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ร่วมประชุมหารือการจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับทุน

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2563 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ศรี สืบสิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภิมล บุญพอก ได้เข้าร่วมประชุมหารือการจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับทุน ตามประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัยและนวัตกรรม หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เพื่อสนุบสนุนการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษา/มหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ให้ตอบสนองการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจและอาชีพในพื้นที่อย่างเร่งด่วนเพื่อรองรัยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ตาม OKR ของโปรแกรมที่ 17 การแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศ โดยมีข้อกำหนดให้ต้องมีความร่วมมือตั้งแต่ 2 สถาบันขึ้นไป และต้องเป็นจังหวัดที่อยู่ภายใต้กลุ่มจังหวัดเดียวกัน ณ ห้องประชุม SC3 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รูปถาพเพิ่มเติมคลิก


วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ประชุมออนไลน์ วางแผนการดำเนินงานขอข้อมูลสถานประกอบการ

   สถาบันวิจัยและพัฒนาประชุมออนไลน์ วางแผนการดำเนินงานขอข้อมูลสถานประกอบการ อาทิเช่น จำนวนร้านตัดผม จำนวนร้านอาหาร จำนวนห้างสรรพสินค้า ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดได้รับมอบหมายให้สำรวจสถานประกอบการในจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดยโสธร เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2563


ประชุมคณะกรรมการบริการวิชาการ ผ่านระบบออนไลน์

      สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ประชุมคณะกรรมการบริการวิชาการ ผ่านระบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 


วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2563

ร่วมจัดทำหน้ากากผ้าฝ้ายพร้อมเจลทำความสะอาดมือ


สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้ร่วมจัดทำหน้ากากผ้าฝ้ายพร้อมเจลทำความสะอาดมือ ทำบุญเนื่องในการจัดงานบุญผะเหวดร้อยเอ็ด โดยมอบหน้ากากผ้าฝ้ายพร้อมเจลทำความสะอาดมือ ขนาด 100 ml 201 ชุด รวมทั้งเจล ขนาดบรรจุ 17 ml 1,000 ขวด มอบให้ท่านวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนที่เข้ามาร่วมงาน หน้ากากอนามัยช่วยป้องกันระบบทางเดินหายใจจากมลพิษ สารพิษ และเชื้อโรค ในช่วงที่มีสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 ระบาด


วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563

มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี 2563 (Regional Research Expo 2020) ครั้งที่ 8

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โดยอาจารย์ ดร.การุณ พงศ์ศาสตร์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ เข้าร่วมงาน มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี 2563 (Regional Research Expo 2020) ครั้งที่ 8 “งานวิจัยเพื่อสร้างชุมชนนวัตกรรมและเศรษฐกิจภูมิภาค” 1 - 2 มีนำคม 2563 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ลำรางทุ่งกะโล่ จังหวัดอุตรดิตถ์ การจัดงานมหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ในครั้งนี้ เป็นการขยายผลสำเร็จจากการจัดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ (Thailand Research Expo) ไปสู่การจัดเวทีในระดับภูมิภาค เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่นักวิจัยและนักวิชาการในระดับภูมิภาค ได้นำเสนอผลงานที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ยังเป็นการให้ผู้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและผู้เกี่ยวข้องกับงานวิจัยในภาคเหนือได้เข้าถึงผลงานวิจัย นักวิจัย และผู้ให้บริการการวิจัยมากยิ่งขึ้น ในปีนี้ การจัดงานมหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การขับเคลื่อนงานวิจัย นวัตกรรมในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจภูมิภาค”ภายในงาน วช. ยังมีการแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติและนิทรรศการผลงานวิจัย จำนวนกว่า 100 ผลงาน การประชุมสัมมนาวิชาการ และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย ผลงานเด่น ที่จะนำมาจัดแสดงในงานมหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ได้แก่ เทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปมะขามหวานครบวงจร เทคโนโลยีการแปรรูปมะม่วงเชิงพาณิชย์ เทคโนโลยีแปรรูปสับปะรดครบวงจร เทคโนโลยีแปรรูปกาแฟวนเกษตร เทคโนโลยีลางสาด signature เป็นต้น


ขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ศรี สืบสิงห์

สถาบันวิจัยและพัฒนา ขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ศรี สืบสิงห์ เนื่องในโอกาสที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์


วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

โครงการตามแผนงานยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อพัฒนาท้องถิ่น# มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด


โครงการเครือข่ายการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน


          กิจกรรมที่ 1 การสังเคราะห์และถอดบทเรียนการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการ
                               ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดและ
                                                       สถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
   
                           สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้ลงพื้นที่ดำเนินโครงการ
เครือข่ายการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นอย่าง
ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ 2563 กิจกรรมที่ 1 การสังเคราะห์และถอดบทเรียนการดำเนินงานด้าน
การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดและสถานศึกษา
ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด“ด้านการบริหารจัดการขยะ”เพื่อเป็นการสนองยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพบริบท ปัญหาและอุปสรรค
ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
ในปัจจุบัน เพื่อกำหนดแนวทางการยกระดับและการพัฒนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมของสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับพื้นที่ 
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 
โดยมีอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา จำนวน 30 คน เข้าร่วมโครงการ


โครงการตามแผนงานยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อพัฒนาท้องถิ่น# โรงเรียนบ้านดงหวาย ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด


โครงการเครือข่ายการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน



              กิจกรรมที่ 1 การสังเคราะห์และถอดบทเรียนการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการ 
                                  ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดและ 
                                 
สถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด 

                     สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้ลงพื้นที่ดำเนินโครงการ
เครือข่ายการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นอย่าง
ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ 2563 กิจกรรมที่ 1 การสังเคราะห์และถอดบทเรียนการดำเนินงานด้าน
การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดและสถานศึกษา
ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด“ด้านการบริหารจัดการขยะ”เพื่อเป็นการสนองยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพบริบท ปัญหาและอุปสรรค
ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
ในปัจจุบัน เพื่อกำหนดแนวทางการยกระดับและการพัฒนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมของสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับพื้นที่ 
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 ณ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงเรียนบ้านดงหวาย ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดโดยมีครูและนักเรียน จำนวน 30 คน เข้าร่วมโครงการ


โครงการตามแผนงานยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อพัฒนาท้องถิ่น# โรงเรียนบ้านท่าม่วง ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด


โครงการเครือข่ายการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน


           กิจกรรมที่ 1 การสังเคราะห์และถอดบทเรียนการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการ
                                ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดและ 
                                สถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
      
                          สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้ลงพื้นที่ดำเนินโครงการ
เครือข่ายการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นอย่าง
ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ 2563 กิจกรรมที่ 1 การสังเคราะห์และถอดบทเรียนการดำเนินงานด้าน
การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดและสถานศึกษา
ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด“ด้านการบริหารจัดการขยะ”เพื่อเป็นการสนองยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพบริบท ปัญหาและอุปสรรค
ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
ในปัจจุบัน เพื่อกำหนดแนวทางการยกระดับและการพัฒนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมของสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับพื้นที่ 
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงเรียนบ้านท่าม่วง หมู่ 4 ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีครูและนักเรียน จำนวน 30 คน เข้าร่วมโครงการ

โครงการตามแผนงานยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อพัฒนาท้องถิ่น# โรงเรียนหนองส้าวโพนงอยประชาชื่น ตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด


โครงการเครือข่ายการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน


           กิจกรรมที่ 1 การสังเคราะห์และถอดบทเรียนการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการ
                                 ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดและ 
                                 สถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
      
                           สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้ลงพื้นที่ดำเนินโครงการ
เครือข่ายการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นอย่าง
ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ 2563 กิจกรรมที่ 1 การสังเคราะห์และถอดบทเรียนการดำเนินงานด้าน
การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดและสถานศึกษา
ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด“ด้านการบริหารจัดการขยะ”เพื่อเป็นการสนองยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพบริบท ปัญหาและอุปสรรค
ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
ในปัจจุบัน
เพื่อกำหนดแนวทางการยกระดับและการพัฒนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมของสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับพื้นที่
เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563 ณ โรงเรียนหนองส้าวโพนงอยประชาชื่น หมู่ 5 ตำบลเกษตรวิสัย
อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีครูและนักเรียน จำนวน 30 คน เข้าร่วมโครงการ



โครงการตามแผนงานยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อพัฒนาท้องถิ่น# โรงเรียนค้อใหญ่ชัยยุทธวิทยาตำบลค้อใหญ่ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด


โครงการเครือข่ายการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน


             กิจกรรมที่ 1  การสังเคราะห์และถอดบทเรียนการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการ                                        ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดและ
                                สถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด   
                           สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้ลงพื้นที่ดำเนินโครงการ
เครือข่ายการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นอย่าง
ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ 2563 กิจกรรมที่ 1 การสังเคราะห์และถอดบทเรียนการดำเนินงานด้าน
การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดและสถานศึกษา
ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด“ด้านการบริหารจัดการขยะ”เพื่อเป็นการสนองยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพบริบท ปัญหาและอุปสรรค
ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
ในปัจจุบัน เพื่อกำหนดแนวทางการยกระดับและการพัฒนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมของสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับ
พื้นที่ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 ณ โรงเรียนค้อใหญ่ชัยยุทธวิทยาตำบลค้อใหญ่ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีครูและนักเรียน จำนวน 30 คน เข้าร่วมโครงการ



โครงการตามแผนงานยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อพัฒนาท้องถิ่น# โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี ตำบลนิเวศน์ อำเภอธวัชบุรี อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด


โครงการเครือข่ายการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน


              กิจกรรมที่ 1 การสังเคราะห์และถอดบทเรียนการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการ 
                               ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดและสถาน
                               ศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด    
                    สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้ลงพื้นที่ดำเนินโครงการ
เครือข่าย
การเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นอย่าง
ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ 2563 กิจกรรมที่ 1 การสังเคราะห์และถอดบทเรียนการดำเนินงานด้าน
การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดและสถานศึกษา
ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
“ด้านการบริหารจัดการขยะ”เพื่อเป็นการสนองยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพบริบท ปัญหาและอุปสรรค
ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
ในปัจจุบัน เพื่อกำหนดแนวทางการยกระดับและการพัฒนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมของสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับพื้นที่ 
เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2563 ณ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี ตำบลนิเวศน์ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีครูและนักเรียน จำนวน 30 คน เข้าร่วมโครงการ
  

โครงการตามแผนงานยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อพัฒนาท้องถิ่น# ชุมชนบ้านนิคมพัฒนา บ้านนากระตึบ และบ้านดอนหาด อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด


โครงการเครือข่ายการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
กิจกรรมที่ 1 การสังเคราะห์และถอดบทเรียนการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการ
                     ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด และสถานศึกษา
                     ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด 
     
                     สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้ลงพื้นที่ดำเนินโครงการ
เครือข่ายการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นอย่าง
ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ 2563 กิจกรรมที่ 1 การสังเคราะห์และถอดบทเรียนการดำเนินงานด้าน
การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดและสถานศึกษา
ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด“ด้านการบริหารจัดการขยะ”เพื่อเป็นการสนองยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพบริบท ปัญหาและอุปสรรค
ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
ในปัจจุบัน เพื่อกำหนดแนวทางการยกระดับและการพัฒนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับ
พื้นที่ ระหว่างวันที่ 22-24 มกราคม 2563 ณ บ้านนิคมพัฒนา หมู่ 2 ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ 
จังหวัดร้อยเอ็ด บ้านนากระตึบ หมู่ 11 และบ้านดอนหาด หมู่ 6 ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ 
จังหวัดร้อยเอ็ด  โดยมีเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลท่าม่วง เทศบาลตำบลเกาะแก้ว และประชาชน
เข้าร่วมโครงการ ชุมชนละ 30 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 120 คน เข้าร่วมดำเนินโครงการ


โครงการตามแผนงานยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อพัฒนาท้องถิ่น# ชุมชนบ้านขมิ้น บ้านวังยาว และบ้านดงหวาย จังหวัดร้อยเอ็ด


โครงการเครือข่ายการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
 กิจกรรมที่ 1 การสังเคราะห์และถอดบทเรียนการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการ 
                      ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด และสถานศึกษา
                      ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด       
                      สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้ลงพื้นที่ดำเนินโครงการ
เครือข่ายการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นอย่าง
ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ 2563 กิจกรรมที่ 1 การสังเคราะห์และถอดบทเรียนการดำเนินงานด้าน
การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดและสถานศึกษาใน
พื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด“ด้านการบริหารจัดการขยะ”เพื่อเป็นการสนองยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพบริบท ปัญหาและอุปสรรค
ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
ในปัจจุบัน เพื่อกำหนดแนวทางการยกระดับและการพัฒนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับ
พื้นที่ ระหว่างวันที่ 15-16,21 มกราคม 2563 ณ บ้านขมิ้น หมู่ 8 ตำบลสระนกแก้ว อำเภอโพนทอง 
จังหวัดร้อยเอ็ด บ้านวังยาว หมู่ 18 ตำบลวังสามัคคี อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด และบ้าน
ดงหวาย หมู่ 8 ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด  โดยมีเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบล
โพนทอง เทศบาลตำบลเกาะแก้ว องค์การบริหารส่วนตำบลวังสามัคคี และ ประชาชนเข้าร่วม
โครงการ ชุมชนละ 30 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 120 คน เข้าร่วมดำเนินโครงการ



โครงการตามแผนงานยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อพัฒนาท้องถิ่น # ชุมชนบ้านผือฮี บ้านกลาง และชุมชนวัดป่าเรไร จังหวัดร้อยเอ็ด

โครงการเครือข่ายการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
          กิจกรรมที่ 1 การสังเคราะห์และถอดบทเรียนการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการ
                     
ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด และสถานศึกษา
                     
ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด   
                       สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้ลงพื้นที่ดำเนินโครงการ
เครือข่ายการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นอย่าง
ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ 2563 กิจกรรมที่ 1 การสังเคราะห์และถอดบทเรียนการดำเนินงานด้าน
การบริหารจัดการทรัพยากร
ธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดและสถานศึกษาใน
พื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
“ด้านการบริหารจัดการขยะ”เพื่อเป็นการสนองยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเพื่อการพัฒนา
ท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพบริบท ปัญหาและอุปสรรค
ด้านการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
ในปัจจุบัน
เพื่อกำหนดแนวทางการยกระดับและการพัฒนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม
ของชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับพื้นที่ ระหว่างวันที่ 8-10 มกราคม 2563 ณ บ้านผือฮี หมู่ 2 ตำบลดงแดง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด ชุมชนวัดป่าเรไร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด  และบ้านกลาง หมู่ 2 ตำบล
ค้อใหญ่ 
อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด  โดยมีเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลดงแดง เทศบาลเมือง
ร้อยเอ็ด องค์การบริหารส่วนตำบลค้อใหญ่ และ ประชาชนเข้าร่วมโครงการ ชุมชนละ 30 คน รวม
จำนวน
ทั้งสิ้น 120 คน