.

.

วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2561

กิจกรรมระดมความคิดเห็นของประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด


เมื่อวันอังคารที่ 13 มีนาคม 2561 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลเกาะแก้ว
อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด สถาบันวิจัยและพัฒนา นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.ศักดิ์ศรี สืบสิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา อาจารย์ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์
รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ได้จัดกิจกรรมระดมความ
คิดเห็นของประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อสร้าง
ความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โดยการทำ SWOT ร่วมกับ
ผู้บริหารเทศบาล ผู้นำชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตำบลเกาะแก้ว ซึ่งประกอบด้วย ปลัดเทศบาล ประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล บุคลากร เทศบาล ผู้นำชุมชนและประชาชน
ในเขตเทศบาลเกาะแก้ว จำนวน 21 คน เพื่อรวบรวมข้อมูลตามความต้องการของชุมชน
เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง และความยั่งยืนของชุมชนในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นต่อไป
ซึ่งสรุปประเด็นสำคัญที่ชุมชนต้องการสร้างความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับมหาวิทยาลัย
ราชภัฏร้อยเอ็ด ได้ดังนี้
1. พัฒนาศักยภาพด้านเศรษฐกิจและกลุ่มอาชีพ
2. พัฒนาศักยภาพด้านประเพณี ศาสนา และวัฒนธรรม
3. พัฒนาศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐาน
4. พัฒนาศักยภาพด้านคุณภาพชีวิตและสังคม
5. พัฒนาศักยภาพด้านการศึกษาและสิ่งแวดล้อม

วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2561

กิจกรรมระดมความคิดเห็นของประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลมะอึ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด


เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2561 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลมะอึ อำเภอ
ธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด สถาบันวิจัยและพัฒนา นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ศรี
สืบสิงห์ ผู้อำนวยกาสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ได้จัดกิจกรรมระดม
ความคิดเห็นของประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลมะอึ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โดยการทำ
SWOT ร่วมกับผู้บริหารเทศบาล ผู้นำชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตำบลมะอึ ซึ่งประกอบด้วย
นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล บุคลากรเทศบาล ผู้นำชุมชนและ
ประชาชน ในเขตเทศบาลมะอึ จำนวน 30 คน เพื่อรวบรวมข้อมูลตามความต้องการของชุมชน
เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง และความยั่งยืนของชุมชนในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นต่อไป
ซึ่งสรุปประเด็นสำคัญที่ชุมชนต้องการสร้างความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับมหาวิทยาลัย
ราชภัฏร้อยเอ็ด ได้ดังนี้
1. พัฒนาศักยภาพด้านเศรษฐกิจ
2. พัฒนาศักยภาพด้านประเพณี ศาสนา และวัฒนธรรม
3. พัฒนาศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐาน
4. พัฒนาศักยภาพด้านคุณภาพชีวิตและสังคม
5. พัฒนาศักยภาพด้านการศึกษาและสิ่งแวดล้อม